Fuji Seal | FAQ
1055
page-template,page-template-full_width,page-template-full_width-php,page,page-id-1055,ajax_fade,page_not_loaded,,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,hide_top_bar_on_mobile_header,qode-content-sidebar-responsive,qode-theme-ver-16.8,qode-theme-ssbd design,qode_header_in_grid,wpb-js-composer js-comp-ver-5.5.2,vc_responsive
 

FAQ

Common Questions

คำถามต่างๆมากมายที่ลูกค้าอยากทราบ เราพร้อมที่จะตอบทุกๆคำถาม หรือท่านมีคำถามอื่นๆเพิ่มเติม สามารถส่งมาหาเราได้ทุกเมื่อ

ซีลที่ดีควรมีอายุการใช้งานได้นานเท่าไหร่

อายุการใช้งานของซีล มีปัจจัยแวดล้อมมากมาย เช่น ชั่วโมงการใช้งานต่อวัน หากเครื่องจักรทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ก็จะทำให้อายุของซีลสั้นลง ทั้งนี้อายุการใช้งานของซีลแต่ละตัว จะขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งในการใช้งาน (Cycle Time) ความร้อนและความสะอาดของน้ำในระบบ ทั้งหมดนี้จะเป็นตัวแปรที่ทำให้มีผลกับอายุการใช้งานของซีล จึงไม่มีตัวเลขตายตัวที่จะบ่งบอกถึงอายุการใช้งานของซีลได้

ควรเก็บรักษาซีลอย่างไร ให้มีคุณภาพดีก่อนการประกอบใช้งาน

ควรเก็บซีลไว้ในที่แห้ง สะอาดปราศจากฝุ่นละออง มีอุณหภูมิ 20 C ไม่ควรให้ถูกแสงโดยตรง เท่านี้ก็จะสามารถรักษาคุณภาพของซีลก่อนการใช้งานของซีลได้

ซีลที่ผลิตจากยาง เมื่อเทียบกับโพลียูรีเทน วัสดุชนิดใดดีกว่ากัน

วัสดุแต่ละชนิดจะมีข้อดีและข้อด้อยต่างกันออกไป แล้วแต่ลักษณะการใช้งาน เช่น วัสดุ ที่ทำด้วยยางจะมีความยืดหยุ่นจึงสามารถใช้งานได้ดีกับลักษณะงานแรงดันต่ำ (Low Pressure) แต่ถ้านำไปใช้งานกับงานแรงดันสูง(High Pressure)  ก็จะทนทานสู้วัสดุที่ทำจากโพลียูรีเทนไม่ได้ อีกทั้งโพลียูรีเทนก็ยังสามารถทนการสึกหรอที่เกิดจากการเสียดสี (Wear Resistant) ได้ดีกว่า จึงเห็นได้ว่าผู้ผลิตซีล ส่วนใหญ่หันมาผลิตซีลที่ทำจากวัสดุโพลียูรีเทนมากขึ้น รวมถึงในลักษณะงานที่ใช้กับลม (Pneumatic) ซึ่งมีแรงดันต่ำ(Low Pressure) ก็นิยมใช้วัสดุโพลียูรีเทนมาผลิตเป็นซีลเช่นกัน แต่ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงค่าความแข็งแรงของวัสดุนั้นๆ ด้วยว่าเหมาะสมหรือไม่

วัสดุโพลียูรีเทนที่ใช้ในการกลึงซีลจะมีคุณภาพดีเทียบเท่ากับวัสดุที่ใช้ผลิตซีลมาตรฐาน หรือไม่

ในการผลิตซีลมาตรฐานทั่วไปที่ทำจากวัสดุโพลียูรีเทน จะใช้วิธีการขึ้นโมเดลแล้วฉีดเป็นวง และก็มีผู้ผลิตยางบางรายใช้วิธีการหล่อขึ้นรูปจากโพลียูรีเทนเหลว เช่นเดียวกันกับวัสดุ โพลียูรีเทนแท่งที่ทางฟูจิซีลคัดสรรเป็นพิเศษและนำเข้ามา ส่วนมากจะใช้วิธีการขึ้นโมเดลแล้วฉีดเป็นแท่ง และนำมากลึงให้ได้เป็นซีลสำเร็จรูป แต่ทั้งนี้ก็จะมีวัสดุบางชนิดที่มีความจำเป็นจะต้องใช้วิธีการหล่อขึ้นรูป เพราะมีข้อจำกัดของขนาดและน้ำหนักของวัสดุในการฉีด ซึ่งทางผู้ผลิตก็ควบคุมให้ได้คุณภาพใกล้เคียงกับวัสดุที่ผลิตด้วยการฉีด ฉะนั้นกรรมวิธีในการผลิตวัสดุไม่ว่าจะเป็นซีลสำเร็จรูป หรือซีลที่ได้มาจากการกลึง จึงมีกรรมวิธีที่คล้ายกัน แต่ต้องเพิ่มขั้นตอนรายละเอียดการกลึงสำหรับงานของซีลกลึงเท่านั้น

ควรจะวัดขนาดของซีลอย่างไรให้ได้ขนาดที่ถูกต้อง

เป็นเรื่องยากมากที่จะวัดขนาดของซีลให้ถูกต้อง 100% เพราะผู้ผลิตซีลแต่ละรายอาจจะมีเทคนิคในการออกแบบซีลไม่เหมือนกันแม้ว่าซีลนั้นๆจะนำไปใช้ในร่องงานชิ้นเดียวกัน แต่ขนาดที่วัดได้ที่ตัวซีล ก็อาจจะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการที่จะหาขนาดซีลที่ถูกต้องควรจะดูจากตัวเลขที่มีอยู่ที่ตัวซีลหรือถ้าไม่มีก็ควรวัดจากขนาดของร่องชื้นงานแล้วเทียบจาก แค๊ตตาล๊อคของซีลที่มีอยู่จะทำให้ได้ขนาดของซีลที่ถูกต้อง 100 %

ถ้าจะออกแบบร่องเพื่อใส่ซีล ควรวัดซีลนั้นเพื่อกำหนด และเผื่อค่าร่องของซีลใช่หรือไม่

หากมีความต้องการที่จะออกแบบชิ้นงานเพื่อใส่ซีล ควรศึกษาคู่มือของซีลให้ละเอียด แล้วกำหนดค่าร่องของชื้นงานตามคู่มือเท่านั้น ไม่ควรกำหนดค่าร่องของซีลโดยการวัดขนาดจากซีลนั้นๆ แล้วเผื่อค่าร่องเองเพราะเสี่ยงต่อการรั่วที่อาจจะเกิดขึ้นได้

เมื่อเปลี่ยนซีลในกระบอกควรเปลี่ยนเฉพาะซีลที่รั่ว หรือ เปลี่ยนซีลทั้งหมด เพราะอะไร

จะเป็นประโยชน์ต่อท่านเจ้าของงานเป็นอย่างยิ่ง ถ้าท่านเปลี่ยนซีลทั้งกระบอกในคราวเดียว เพราะการถอดประกอบกระบอกแต่ละครั้ง ราคาของซีลต่อชุดที่ต้องเปลี่ยน เมื่อเทียบกับค่าแรงงานในการเปลี่ยนรวมถึงระยะเวลาที่สูญเสียไปในการผลิต (Down Time) แล้วราคาซีลต่อชุดจะถูกกว่ามาก

วัสดุ PTFE และ TEFLON ต่างกันอย่างไร

ความจริงแล้ววัสดุทั้งสองชนิดนี้ เป็นวัสดุที่ทำมาจากพื้นฐาน (Base) ของวัสดุชนิดเดียวกัน เป็นวัสดุที่มีสารหล่อลื่นในตัวเองสูง สามารถทนความร้อนได้ดี แต่มีความยืดหยุ่นต่ำ จึงนิยมนำมาใช้งานร่วมกับวัสดุอื่นที่มีความยืดหยุ่นสูงกว่า PTFE มีชื่อย่อมาจาก polytetrafluoroethylene ส่วน TEFLON เป็นชื่อเฉพาะทางการค้า ของ Dupont เท่านั้น

ซีลยูคัพที่มียางอยู่ในร่องของซีล คุณสมบัติแตกต่างจากซีลยูคัพที่ไม่มียางในร่องหรือไม่

ซีลยูคัพโดยปกติจะผลิตด้วยวัสดุโพลิยูรีเทนซึ่งมีค่าการคืนตัวของวัสดุ (Compression Set) ต่ำกว่าวัสดุที่ผลิตจากยาง จึงมีผู้ผลิตซีลบางรายนำวัสดุที่เป็นยางมาใส่ประกอบเข้าในร่องของยูคัพประเภทนี้เพราะวัสดุที่ผลิตจากยางจะได้ให้ค่าการคืนตัวของวัสดุ(Compression Set) สูงกว่า จึงมีผลให้ Lip ของซีลนั้นสามารถยืดหยุ่นตัวได้สูงขึ้นและมีประสิทธิภาพในการทำงานช่วงแรงดันต่ำ(Low Pressure) ดีกว่าซีลยูคัพทั่วไป

ซีลกันฝุ่นที่มีร่องด้านหลัง มีลักษณะการใช้งานแตกต่างจากซีลกันฝุ่นที่ไม่มีร่องด้านหลังอย่างไร

ร่องด้านหลังของซีลกันฝุ่น ถูกออกแบบมาเพื่อกักน้ำมันที่เป็นฟิล์มที่เกาะออกมากับเพลา ขณะใช้งาน ทำให้เพลาแห้งไม่มีฟิล์มของน้ำมันเกาะออกมากับเพลา แต่การใช้งานในลักษณะนี้จะต้องมีรูระบาย (Drain)  น้ำมันอยู่ที่ชิ้นงานระหว่างตัวซีลกันน้ำมันกับซีลกันฝุ่น มิฉะนั้นแล้วจะทำให้เกิดการเก็บกักน้ำมันในระหว่างช่องดังกล่าวจนทำให้เกิดเป็นแรงดันของน้ำมันดันซีลกับฝุ่นหลุดออกจากร่องของชิ้นงานได้ในขณะใช้งาน ในทางกลับกันซีลกันฝุ่นที่ไม่มีร่องด้านหลัง ก็ไม่จำเป็นจะต้องมีรูระบาย(Drain) น้ำมัน เพราะฟิล์มของน้ำมันสามารถระบายออกมาเป็นฟิล์มเกาะกับเพลาในขณะใช้งานได้อยู่แล้ว ดังนั้นซีลกันฝุ่นทั้ง 2 รุ่นจึงมีข้อดีแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่จะนำไปเลือกใช้

วัสดุของเทปกันสึก (Wear Ring) มีให้เลือกหลายชนิด จะเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสมกับลักษณะงาน

วัสดุที่ใช้ผลิตเทปกันสึกมีด้วยกันหลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถจำแนกได้คร่าวๆดังนี้ วัสดุที่ผลิตจาก PTFE ผสมด้วย Bronze สามารถใช้งานได้ดีกับกระบอกที่ต้องการความเร็วของ Speed ในการใช้งานสูง แต่การรับแรงเบียด (Load) จะไม่สามารถรับได้มากนัก จึงใช้งานได้ดีกับกระบอกที่ติดตั้งใช้งานในแนวตั้ง และไม่มีแรงเบียดด้านข้าง (Side Load ) เท่านั้น หากต้องการใช้งานในลักษณะที่มีแรงเบียดสูง (High Side Load) วัสดุที่ทำมาจากเนื้อผ้าใบ (Polyester)หรือวัสดุที่ผลิตจาก Phenolic  จะใช้งานได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้ก็ยังมีแหวนกันสึกที่ผลิตจากวัสดุ POM ซึ่งสามารถทนแรงเบียด(Load) ได้สูงพอสมควร ราคาประหยัด แต่มีจำหน่ายเฉพาะเป็นวงสำเร็จรูปตามขนาดที่กำหนดเท่านั้น ฉะนั้นการเลือกวัสดุของเทปกันสึกจึงต้องคำนึงถึงลักษณะการใช้งาน รวมถึงอุณหภูมิการใช้งานเป็นหลักสำคัญ

ซีลวีแพ็คกิ้งที่มีตัววีริงทำจากยางประกอบสลับกับวีริงที่ทำด้วยยางผสมผ้าใบอยู่ในหนึ่งชุดแตกต่างกับวีแพ็คกิ้งที่เป็นยางผสมกับผ้าใบทั้งชุดอย่างไร

เนื่องจากซีลที่ผลิตจากยางจะมีความยิดหยุ่นตัวสูงกว่าซีลที่ผลิตจากยางผสมผ้าใบ จึงสามารถซีลน้ำมันได้ดีในการทำงานช่วงแรงดันน้ำมันต่ำ(Low Pressure) แต่จะไม่สามารถซีลน้ำมันได้ดีในช่วงของแรงดันน้ำมันขณะทำงาน(Working Pressure) ที่มีแรงดันน้ำมันสูงขึ้น เพราะความแข็งของยางไม่สามารถทนแรงดันสูงได้ จึงต้องมีการประกอบสลับระหว่างวีริงที่ทำจากยางผสมผ้าใบกับวีริงที่ทำจากยางล้วน ซึ่งจะเหมาะกับลักษณะงานที่มีการทำงานของแรงดันน้ำมันที่ไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงของแรงดันน้ำมันบ่อยๆ ส่วนซีลวีแพ็คกิ้งที่เป็นวัสดุยางผสมผ้าใบทั้งชุดจะมีความแข็งแรงทนทานกว่าหากนำไปใช้กับงานที่มีแรงดันน้ำมันสม่ำเสมอคงที่

ซีล Double Acting สามารถใช้เป็นงาน Single Acting ได้หรือไม่ และจะมีผลอย่างไร

การออกแบบซีลแต่ละชนิดผู้ออกแบบจะคำนึงถึงข้อดีของการใช้งานในตัวซีลนั้นเป็นหลักอยู่แล้ว ฉะนั้นซีลลักษณะ Double Acting ที่มีการออกแบบซีลมาให้ใช้งานทั้ง 2 ด้าน จึงมีการหล่อลื่นของน้ำมันที่เกิดจากแรงดัน (Pressure) ตลอดเวลา ซึ่งแตกต่างจากซีล Double Acting ในงาน Single Acting จะเห็นได้จากความร้อนที่เกิดขึ้นกับ LIP ของซีลอีกด้านที่ไม่ได้ใช้งานส่งผลให้กระบอกมีความร้อนเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น อายุงานของซีลก็จะสั้นลง จึงควรเลือกซีลให้เหมาะสมกับลักษณะงานจะได้ผลที่คุ้มค่าที่สุด

จะนำซีลแกน มาใช้เป็นซีลลูกสูบได้หรือไม่

ไม่ควรนำซีลที่ออกแบบมาสำหรับใช้เฉพาะที่แกนมาใช้งานที่ลูกสูบ เพราะซีลที่ออกแบบมาเพื่อใช้ที่แกนอย่างเดียวนั้นมีการออกแบบมาให้Lip ด้านในของตัวซีลมีความแข็งแรง ทนทาน มากว่า Lip ด้านนอก เพื่อรับกับลักษณะงานที่จะต้องมีการเคลื่อนที่และเสียดสีกับเพลา แต่ Lip ด้านนอกของซีลออกแบบมาเพื่ออยู่ในร่องของชิ้นงานที่จะรับแรงดัน(Pressure) เท่านั้น ไม่มีการเสียดสีหรือการเคลื่อนที่ระหว่างการใช้งาน ฉะนั้นหากท่านนำซีลที่ไม่ตรงกับลักษณะงาน (Application)มาใช้ซีลก็จะไม่สามารถใช้งานได้นานเท่าที่ควรจะเป็น

Have a question?